29 สิงหาคม 2552

ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร ขำดี มีสาระ




1. นิมนต์พระ

หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมาการยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดีรอซักพัก

พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่านการนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว
ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะนิมนต์เจ้าค่ะ" (ใช้คำไฮโซมาก)
มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์" (เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว)
การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณโยม
บางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ ทำไมต้องตะคอกด้วย - -")
การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วยถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่
ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษามากก็เรียกหลวงตา
หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุงหลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ
อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง" ทำเอาเสียself จนอยากสึกออกไปทำ baby face
โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่ากวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ

2. จบ

อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะการจบ หมายถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐานการจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไปเคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกกนานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า "โยมขออะไรเราน้า?"

3. ถอดรองเท้า

ยืนด้วยเท้าเปล่าจริงๆแล้ว จุดประสงค์ของการถอดรองเท้าคือเป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์โดยการไม่ยืนสูงกว่าท่านเพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ่งมีหลายประเภทเหมือนกัน

เช่นบางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า - -" (สูงกว่าเดิมอีก)
บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น (หนักกว่าเก่า)
เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า

พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควรถอดรองเท้าใส่บาตรนะ"
โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า
โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ
พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยมโยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า
โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะอิบ้า!! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร

อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่างฉันเพล (เรื่องขำขันขณะฉันเพล)พอถอดรองเท้าเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สี่

4. ใส่บาตร

อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร
สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือควรดูว่าของที่นำมาใส่บาตรนั้น เสียรึเปล่า

บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตรพระฉันไป เข้าห้องน้ำไปพวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระก็ฝากด้วยนะครับ เด๋วทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ

นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่าเคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี
ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไปเคยมีโยมใส่บาตรด้วย "กล้วย ๓ หวี"กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่าแต่นี่ใส่ "กล้วยหอม" (อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ)คิดดู "กล้วยหอม ๓ หวี" อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า "โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง"
การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวมโยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก (วางดีๆก็ได้ 55)

5. รับพร

หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พรเราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม
เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว(ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม (ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก))
ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสมระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป

การใส่บาตรที่อยากแนะนำก็มีประมาณเท่านี้ขั้นตอนการทำบุญง่ายๆตื่นเช้ามาใส่บาตรกันเถอะ